BLOCKCHAIN TECHNOLOGY
บทความวันนี้คอยน์แมนจะมาอธิบายการทำงานของเทคโนโลยี Blockchain ที่เป็นแก่นของ Cryptocurrency และเหตุผลที่มันจะมาปฏิวัติโลกของเรา แบบเข้าใจง่าย ๆ กันนะครับ
Blockchain คืออะไร?
Blockchain คือเทคโนโลยีการประมวลผลและจัดเก็บข้อมูลแบบกระจายศูนย์ หรือที่เรียกว่า Distributed Ledger Technology (DLT) ซึ่งเป็นรูปแบบการบันทึกข้อมูลที่ใช้หลักการ Cryptography ร่วมกับกลไก Consensus โดยข้อมูลที่ถูกบันทึกในระบบ Blockchain นั้นจะสามารถทำการแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้ยาก ช่วยเพิ่มความถูกต้อง และความน่าเชื่อถือของข้อมูล
จุดกำเนิดของ Blockchain
เมื่อปี 2008 ในช่วงวิกฤตเศษฐกิจครั้งใหญ่ที่เราเรียกว่า Global Financial Crisis บุคคลนิรนามที่ใช้ชื่อว่า Satoshi Nakamoto ได้ให้กำเนิดสิ่งที่เรียกว่าบิทคอยน์ขึ้นมา โดยออกแบบให้บิทคอยน์เป็นเงินดิจิทัลสกุลแรกในประวัติศาสตร์ที่ใครๆก็สามารถใช้ได้ ทุกคนสามารถถือเงินและโอนเงินหากันได้โดยไม่ต้องผ่านตัวกลางใด ๆ เช่นธนาคาร และที่สำคัญ มันไม่ได้ถูกสร้างหรือควบคุมโดยรัฐหรือองค์กรใด ๆ
ณ วันนั้น ไม่ใช่เพียงบิทคอยน์ แต่เทคโนโลยีที่เรียกว่า Blockchain ก็ถือกำเนิดขึ้นด้วย
ซึ่ง Blockchain นี่แหละ คือเทคโนโลยีที่ทำให้บิทคอยน์ทำในสิ่งที่ไม่มีใครเคยทำได้มาก่อน
** บางคนอาจจะคิดว่า Blockchain นั้นมีไว้สร้างสกุลเงิน จริง ๆ แล้วสกุลเงินนั้นก็เป็นเพียงหนึ่งใน Application ของ Blockchain เท่านั้นเองครับ
หลัก ๆ แล้ว Blockchain เป็นเทคโนโลยีที่ทำให้เราสามารถสร้างระบบที่ไม่ต้องพึ่งพาตัวกลางอีกต่อไป หรือที่เรียกว่า Trustless System ซึ่ง Bitcoin Network ถือว่าเป็นระบบแรก โดยมีตัว Bitcoin ที่เป็นสกุลเงินใช้งานบนนั้น
ไม่มี Bitcoin ก็ไม่มี Blockchain
อาจเป็นเพราะโจทย์ของ Satoshi Nakamoto คือ ทำยังไงถึงจะสร้างสกุลเงินที่ไร้ตัวกลาง ไร้คนควบคุม เขาก็เลยคิดเทคโนโลยีที่เรียกว่า Blockchain ขึ้นมาเพื่อทำให้เขาสร้างบิทคอยน์ได้สำเร็จ
ถ้าเรานึกกลับกันว่า Satoshi Nakamoto ไม่ได้ต้องการสร้างสกุลเงินบิทคอยน์นี้ เราอาจไม่เห็นเทคโนโลยี Blockchain กันก็เป็นได้ครับ
โลกที่ต้องพึ่งพาตัวกลาง กับธุรกิจที่เกิดขึ้นจากคำว่า Trust
คอยน์แมนขอยกตัวอย่างตัวกลางที่ทุกคนคุ้นเคยที่สุดก่อน ซึ่งก็คือเรื่องการโอนเงินนั้นเอง
จากรูปข้างบนนี้ เราจะเห็นได้ว่า A และ B ฝากเงินกับ Bank 1 ในขณะที่ C และ D ฝากเงินกับ Bank 2 ดังนั้น
- A โอนหา B โดยผ่าน Bank 1
- ถ้า A จะโอนหา D โดยผ่านทั้ง Bank 1 และ Bank 2
ทั้งนี้ทั้งนั้น ทุกคนต้องพึ่งธนาคารตัวกลางในการโอนเงินหากัน
ธนาคารนั้นมีหน้าที่ทำอะไร
1. ธนาคารจดบันทึกว่าใครมีเงินเท่าไหร่ ในตัวอย่างนี้ Bank 1 ก็จะบันทึกว่า A มี 100 บาท B มี 100 บาท
2. ธนาคารช่วยทำธุรกรรมให้เรา ในตัวอย่างนี้ สมมุติว่า A อยากโอนเงิน 50 บาท ให้ D ทาง Bank 1 จะเชคว่า A มีเงินจริงไหม ก่อนที่จะไปคุยกับ Bank 2 หลังจากนั้น A จะถูกหักเงิน 50 บาท และ Bank 2 ก็จะเครดิตเงิน 50 บาทให้กับ D
สรุปแล้ว เราต้องใช้ธนาคารเพราะ
- เราไม่สามารถแสดงความเป็นเจ้าของเงินในรูปแบบดิจิทัลได้
- เราไม่สามารถตรวจสอบความถูกต้องของเงินที่โอนมาได้
พูดง่าย ๆ ก็คือ เราทำธุรกรรมในรูปแบบดิจิทัลที่น่าเชื่อถือกันเองไม่ได้นั้นแหละ
มันก็เลยเป็นโอกาสทางด้านธุรกิจขึ้นมา โดยที่ธุรกิจเหล่านี้เป็นเสมือนตัวกลางที่น่าเชื่อถือให้ทั้งสองฝ่าย โดยที่เราต้องเชื่อใจว่า ตัวกลางนั้นจะซื่อสัตย์ จะอัพเดทดูแลบัญชีให้ทุกคนอย่างถูกต้องเสมอ
ผลของการมีตัวกลาง
- เวลาเราจะทำธุรกรรมอะไร ไม่ว่าจะเช็คเงินในบัญชี โอนเงินให้ใคร ถอนเงิน เราก็ต้องขออนุญาตธนาคาร ไม่ว่าจะผ่านแอป ทำจาก ATM หรือทำหน้าเคาท์เตอร์ สิ่งนี้เรียกได้ว่า Server-Client Architecture
- แน่นอนว่าธุรกิจตัวกลางต้องทำกำไร มันทำให้ cost นั้นสูง ยิ่งเราผ่านตัวกลางหลายที่ มันยิ่งแพง แต่แพงไม่พอ มันทำให้เกิดความล่าช้าขึ้นด้วย นึกภาพเราโอนเงินไปต่างประเทศว่าทั้งแพงและนานขนาดไหน (เงินเราอยู่ไหนแล้ว จะหายไปไหมก็ไม่รู้)
- ที่สำคัญที่สุด เราต้องเชื่อใจเสมอว่าตัวกลางนี้จะไม่โกงเรา จะไม่แอบแก้ข้อมูล หรือไม่มีการให้เอื้อประโยชน์ลูกค้าคนอื่น
Blockchain ทำงานอย่างไร?
เรารู้กันแล้วว่าความเชื่อใจคือแก่นของธุรกิจตัวกลางต่าง ๆ โดยเฉพาะธนาคาร
Blockchain นั้นเป็นเทคโนโลยีที่จะสามารถมาสร้างระบบที่กระจายอำนาจความเชื่อใจของตัวกลาง ทำให้เราไม่จำเป็นต้องเชื่อตัวกลางคนใดคนนึงอีกต่อไป หรือทำให้เราทำธุรกรรมกันแบบ Peer-to-Peer ได้นั้นเอง
การกระจายบัญชีให้ทุกคนถือ
ที่นี้มาดูกันว่า เราจะทำยังไงให้ A B C และ D โอนเงินหากันได้โดยไม่ต้องผ่านธนาคาร
ซึ่งคอนเซปของ Blockchain เนี่ยบอกว่า แทนที่จะให้ธนาคารเก็บข้อมูลบัญชีพวกเรา ทำไมเราไม่ให้ทุกคนใช้บัญชีเล่มเดียวกัน แล้วให้ทุกคนนั้นได้ก๊อปปี้อันเดียวกันไปเก็บหละ?
มาดูกันครับว่าเป็นยังไง
ดูจากรูปข้างบนแล้ว ถ้าทุกคนมีข้อมูลบัญชีอันเดียวกัน
- เราสามารถเช็คได้เลยว่าใครมีเงินเท่าไหร่ เราก็ไม่ต้องเป็นห่วงแล้วใช่ไหมครับว่าคนนี้มีเงินจริงไม่จริง ถ้าสมมติ B แอบแก้บัญชีตัวเอง จากมี 100 เป็น 1000 บัญชีของ B ก็จะไม่ตรงกับ A C และ D ทุกคนก็จะรู้ว่า B นั้นโกงนั้นเอง
- เวลามีการโอน เช่น A โอนให้ D ข้อมูลธุรกรรมก็จะถูก Broadcast ประกาศให้ทุกคนรู้และอัพเดทบัญชีตามกัน ดังนั้นถ้าโอนแล้วมาบอกทีหลังว่าไม่ได้โอน ก็ไม่ได้ใช่ไหมละครับ
ทำไมถึงเรียกว่า Blockchain ?
Blockchain คือวิธีการเก็บข้อมูลบัญชีรูปแบบหนึ่ง นึกภาพง่าย ๆ ว่า พอมีธุรกรรม Transaction ใหม่ ๆ เข้ามา มันก็จะถูกกองรวม ๆ กันไว้ พอได้จำนวนหนึ่งเราก็จะจัดบรรจุธุรกรรมเหล่านั้นลงกล่องบัญชี (Block) และทำการปิดกล่อง พอเราปิดกล่องเสร็จ เราก็จะได้กล่องใหม่หรือ Block ใหม่ขึ้นมานั้นเอง
สิ่งที่ทำให้ Blockchain ต่างจากการเก็บบัญชีแบบอื่นคือ เราไม่ได้กลับไปเปิดกล่องบัญชีเก่าเพื่อแก้หรืออัพเดทข้อมูลธุรกรรม แต่กล่องธุรกรรมใหม่จะถูกสร้างขึ้นเรื่อยๆไปในทางเดียว โดยจะเชื่อมและอ้างอิง reference กับกล่องเก่าอยู่เสมอ ในลักษณะของกล่องหลายๆกล่องที่มีโซ่เชื่อมกัน มันถึงเรียกว่า Blockchain นั้นเอง
ยกตัวอย่างจากรูปข้างบน พอเราสร้าง Block 4 แล้ว เราไม่สามารถย้อนกลับไปแก้ข้อมูลใน Block 1 2 หรือ 3 ได้ ผลก็คือข้อมูลธุรกรรมจะถูกเก็บถาวร
** ข้อมูลธุรกรรมของ Block ก่อนหน้าจะถูก Cryptographic Hash ไว้ (การเข้ารหัสทางเดียว ไว้เพื่อแค่เช็คว่าข้อมูลนั้นเป็นต้นฉบับจริง ไม่ถูกใครเปลี่ยนแปลง)โดยที่ Block ใหม่ที่ถูกสร้างก็จะมี Hash ของ Block เก่าระบุอยู่ด้วย (จึงอ้างอิงกลับได้ว่า Block ก่อนหน้าคืออันไหน) ถ้าหากมีคนแอบไปเปลี่ยนแปลงข้อมูลธุรกรรม Block เก่า แม้แต่เพียงนิดเดียว Hash ก็จะเปลี่ยน ทำให้เรารู้ว่ามีการแอบแก้ไข ตัวอย่างเช่นรูปข้างล่าง เราจะเห็นได้ว่าประโยค “How are you” ถ้าแค่เติมเครื่องหมายคำถาม “?” เข้าไป ผลลัพท์ Hash ก็จะเปลี่ยนไปทันที
Comments
Post a Comment